ทุกหยาดเหงื่อเพื่อเธอ

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา

นวัตกรรมการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา 6 นวัตกรร คือ

นวัตกรรมที่ 1 :  หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่านภาษาไทย
2.เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน
3.เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จินตนาการให้มากขึ้น
4.เพื่อเป็นสื่อในการฝึกทักษะในการอ่าน
5.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านและรู้จักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียน
6.เพื่อให้นักเรียนได้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ลักษณะ
      หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรีนี้จะเป็นแบบ  มีเนื้อหาน้อย สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย  มีการบรรยายโดยใช้ภาพการ์ตูน  และที่สำคัญเวลาเปิดไปหน้าต่อไปจะมีเสียงดนตรี เช่น  เรียนเรื่อง สัตว์ ก็จะมีเสียงสัตว์ต่างๆในหนังสือการ์ตูน  เป็นต้น
ความคิดเห็น
   หนังสือการ์ตูนประกอบการเรียน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง "บุคคลสำคัญ"เป็นการนำการ์ตูนที่เด็กๆชอบมาประกอบการสอน จึงทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมาก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีอารมณ์ร่วมในการเรียน จึงทำให้เด็กเรียนรู้มากกว่าเดิมและสนใจที่จะเรียนในเรื่องต่อไป
แหล่งอ้างอิง
      เพชรจันทร์  ภูทะวัง,วิทยานิพนธ์ เรื่อง การสร้างหนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี  สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย, ๒๕๔๗
นวัตกรรมที่ 2 : การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
วัตถุประสงค์
1.ผู้เรียนสามารคิดแก้ปัญหาได้คิดอย่างวิจารณญาณ                                         
2.ใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะ     
       แหล่งเรียนรู้ในที่นี้อาจเป็นแหล่งสารสนเทศใดๆ ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ และบุคคลที่เป็นผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ โดยที่สารสนเทศอาจบันทึกอยู่ในรูปหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และ    อินเทอร์เน็ต สำหรับในปัจจุบันสารสนเทศบนเว็บนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก
ความคิดเห็น
       กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการวิเคราะห์ จากการแก้ปัญหาการ ที่ได้ประสบ จากการเรียนที่ต้องค้นคว้าด้วยตนเอง และผู้เรียนจะมีความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออกเนื่องจากการเรียนด้วยวิธี RBL ผู้เรียนจะต้องพึ่งพาตนเองสูง
แหล่งอ้างอิง
vdo.kku.ac.th/mediacenter/library/document/view-document.php?library_id=1311&lang=en&pid=922

นวัตกรรมที่ 3 : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนแผนจัดประสบการณ์
วัตถุประสงค์
1.ผู้เรียนสามารถบอกการเตรียมตัวก่อนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้
2.ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้
ลักษณะ
      บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าโดยมีการบรรจุเนื้อหา ชุดคำถาม พร้องเฉลยคำตอบเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและได้รับพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา อย่างเหมาะสมสามารถนำไปปฎิบัติ     จริงได้
ความคิดเห็น
       บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์มีคุณสมบัติที่มีเนื้อหา ภาพ เสียง ภาพเครื่อนไหวรวมอยู่ด้วยกัน ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์น่าสนใจ  ผู้เรียนเรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ
แหล่งอ้างอิง
    นายเสนีย์ โกสิยวัฒน์.วิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเขียนแผนการจัดการประสบการณ์สำหรับครูผู้สอนปฐมวัยศึกษา .มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2547.
นวัตกรรมที่ 4 : การเรียนแบบมัลติมีเดีย วิชา ชีววิทยาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูล การเรียนรู้แบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในด้านสมรรถภาพด้านทักษะในการสื่อสาร
ลักษณะ
1. มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ช่วยในการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา อันเป็นการเร้าความสนใจ สะดวก ประหยัดเวลา สามารถศึกษาค้นคว้าไว้ตามความสามารถและศักยภาพอย่างไม่จำกัด จะช่วยให้ การเรียนการสอนชีววิทยามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. การกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนการสอนวิชาชีววิทยามากขึ้น เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการสอนในห้องเรียนปกติซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ดีขึ้นทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
3. เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นหลัก สร้างความสามารถให้ผู้เรียนได้เรียนตามศักยภาพของตนเองแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทำให้เกิดเจตคติของการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. สามารถใช้เรียนเสริมหรือซ่อมเสริมได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ
5. เป็นการใช้เทคโนโลยีสื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มคุณภาพในการเรียนการสอนนักเรียนจำนวนมากๆได้
ความคิดเห็น
      ไม่ใช่เพียงวิชาชีววิทยาเท่านั้นที่สามารถใช้ฐานข้อมูลการเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย แต่ทุกสาขาวิชาสามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ โดยการใช้เทคโนโลยีสื่อการศึกษานี้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการเรียนการสอนนักเรียนทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทาง schoolnet ได้ และสามารถให้นักเรียนใช้เรียนเสริมหรือซ่อมเสริมได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนในการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ
แหล่งอ้างอิง
     รายงานการวิจัย การพัฒนานวัตกรรมการเรียนแบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ดร.ชาตรี เกิดธรรม พ.ศ 2542
นวัตกรรมที่ 5 : การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ ในการหาคำราชาศัพท์
2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะ
      เป็นการใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์ให้กับนักเรียนและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์
ความคิดเห็น
เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้นและเสริมสร้างทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ

แหล่งอ้างอิง
       วิทยานิพนธ์เรื่อง การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์     พ.ศ.2538
นวัตกรรมที่ 6 : บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ลักษณะ
       เป็นการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ
เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคนี้ซึ่ง e-Learning นี้ก็จะเป็นเส้นทาง
หนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ดั้งนั้นสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีการศึกษาในหลายๆรูปแบบถูกนำมา
ใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากร
มนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมต่อไปซึ่งเป็นยุคเทคโนโลยี
ความคิดเห็น
    - ให้แรงจูงใจแก่ผู้เรียน
    - บอกผู้เรียนให้ทราบว่าเขาจะเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง
    - การเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่
    - นำเสนอเนื้อหาใหม่
    - การให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลตอบกลับ
แหล่งอ้างอิง
ห้องสมุดงานวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ

แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด

แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   หากท่านใดสนใจข้อมูล  สามารถติดต่อได้ที่  ครูอรุณรัตน์  อุดมศักดิ์ โรงเรียนธรรมยานประยุต 037-243-435



- นักเรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

  • ผลสำเร็จ





  •                                                           แบบฝึกทักษะที่ ๑

                                  เรื่อง  การอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
                                         ในแม่กก  (คำที่สะกดด้วย  ข ค ฆ)

    จุดประสงค์  อ่านออกเสียงคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
                     ในแม่กกได้  (คำที่สะกดด้วย  ข ค ฆ)
      คำชี้แจง      ๑.  ฝึกอ่านออกเสียงตามครู
                       ๒.  ฝึกอ่านออกเสียงด้วยตนเอง
      สาระการเรียนรู้  มาตราตัวสะกด คือแม่บทแจกลูกอักษรตามหมวดคำที่มีตัวสะกดประกอบอยู่ข้างท้าย สระ ออกเสียงประสมเข้ากับสระ
                    แม่กก คือ พยางค์ที่มีตัว ก สะกด หรือตัวอื่นซึ่งทำหน้าที่เหมือนตัว ก สะกด ได้แก่ ตัว ข ค ฆ
    กิจกรรมการเรียนรู้
         
                                               ตัวอย่าง     สุข    อ่านว่า     สุก

                        ๑.        โชคดี               อ่านว่า     .................................................      

                        ๒.        สุนัข                อ่านว่า     .................................................

                        ๓.        สมัคร              อ่านว่า      ................................................

                        ๔.        สุขภาพ            อ่านว่า     ................................................

                        ๕.        บริจาค             อ่านว่า     ...............................................

                        ๖.       บุคคล               อ่านว่า     ................................................

                        ๗.       ก้อนเมฆ           อ่านว่า     ...............................................

                        ๘.        บริโภค            อ่านว่า     ..............................................

                        ๙.       ภาคภูมิ             อ่านว่า      .............................................  

                       ๑๐.      สามัคคี             อ่านว่า      ............................................

      ผลการประเมิน 

                    ได้...............คะแนน  อยู่ในระดับ      ดี      พอใช้       ปรับปรุง    

      หมายเหตุ     ได้คะแนน  ๘ - ๑๐  อยู่ในระดับ  ดี
                       ได้คะแนน  ๕ - ๗   อยู่ในระดับ  พอใช้
                       ได้คะแนน  ๑ - ๔   อยู่ในระดับ  ปรับปรุง


                              
                                      
                                                     แบบฝึกทักษะที่ ๒

                         เรื่อง  การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
                                 ในแม่กก  (คำที่สะกดด้วย  ข ค ฆ)

      จุดประสงค์  เขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
                     ในแม่กกได้  (คำที่สะกดด้วย  ข ค ฆ)
      คำชี้แจง      เขียนคำให้ถูกต้องจาก พยัญชนะ และสระ ที่วางปะปนกัน
      สาระการเรียนรู้  มาตราตัวสะกด คือแม่บทแจกลูกอักษรตามหมวดคำที่มีตัวสะกดประกอบอยู่ข้างท้ายสระ ออกเสียงประสมเข้ากับสระ
                    แม่กก คือ พยางค์ที่มีตัว ก สะกด หรือตัวอื่นซึ่งทำหน้าที่เหมือนตัว ก สะกด ได้แก่ ตัว ข ค ฆ
    กิจกรรมการเรียนรู้
         
                                             ตัวอย่าง           ขมุ    >    มุข           

                         ๑.        มั ย ค ยุ ส                 >           ................................  

                         ๒.        ระ โย ป ค                 >           ................................

                         ๓.        ค ค เท นิ                  >           ................................

                         ๔.        ค เรี น า ภ ย             >           ................................

                         ๕.        ณิ ค เล ต ข              >            ...............................

                          ๖.       ง โช ล า ค                >           ...............................

                          ๗.       ข โท เล ร                 >           ...............................

                          ๘.       ค ว รร อ ต น             >           ...............................

                          ๙.       ค ก พ รร พ ว            >            ...............................

                        ๑๐.        ข สุ ค ม ว า              >            ..............................


    ผลการประเมิน 

                    ได้...............คะแนน  อยู่ในระดับ      ดี      พอใช้       ปรับปรุง    

    หมายเหตุ     ได้คะแนน  ๘ - ๑๐  อยู่ในระดับ  ดี
                      ได้คะแนน  ๕ - ๗   อยู่ในระดับ  พอใช้
                       ได้คะแนน  ๑ - ๔   อยู่ในระดับ  ปรับปรุง

                                    
             ที่มา : http://www.sk1edu.org/bp/news.php?show=120
  • วิธีการสำคัญ/ขั้นตอน/กิจกรรม/นวัตกรรม







  •        

    หนังสือเล่มเล็ก The Little Book (บทเรียนสำเร็จรูป)

    ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกวิศรามราม

    โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกวิศราราม (ระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๖ ได้ขยายการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นโรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมด้านสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาในการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก (The little book บทเรียนสำเร็จรูป) จนประสบความสำเร็จ


    ข้อค้นพบ  :  ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา

    ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกวิศราราม ได้ขยายโอกาสทางการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ ๑ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แต่ปรากฏว่านักเรียนให้ความสนใจกับการอ่านหนังสือน้อย ขาดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น มุมหนังสือ ห้องสมุด ป้ายนิเทศ และศูนย์การเรียนรู้

    สภาพการณ์ดังกล่าวนี้เป็นข้อบ่งชี้ถึงอันตรายต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ เพราะการขาดนิสัยรักการอ่านจะส่งผลอย่างสำคัญในการอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการแสวงหาความรู้และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ของผู้เรียน

    ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันแสวงหาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าด้วยการจัดทำหนังสือเล่มเล็กที่มีรูปแบบสวยงาม กะทัดรัด เนื้อหาและภาพประกอบเหมาะสมกับความสนใจของผู้เรียนขึ้น


    การพัฒนานวัตกรรม

    ในการจัดทำหนังสือเล่มเล็กดังกล่าวนี้คณะผู้จัดทำได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาด้วยการศึกษาหลักสูตร ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสำเร็จรูป ทฤษฎีจิตวิทยา เทคนิค กระบวนการผลิต วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จากนั้นดำเนินการสร้างหนังสือเล่มเล็กตามขั้นตอนดังนี้
              - เลือก และวิเคราะห์เนื้อหาที่จะนำมาจัดทำหนังสือเล่มเล็ก (บทเรียนสำเร็จรูป)
              - กำหนดแนวคิด และจุดมุ่งหมายของบทเรียน แนวคิดบทเรียนจะต้องชี้ชัดว่า สิ่งสำคัญของเรื่องที่เรียนนั้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้เรื่องใด
              - กำหนดรูปแบบของบทเรียนว่าจะเป็นแบบเส้นตรง หรือแบบสาขา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน
              - เขียนตัวบทเรียนโดยจะต้องแยกเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ที่เรียกว่ากรอบ โดยเรียงลำดับจากความยากง่าย จัดเนื้อหาแต่ละกรอบให้เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไปฯ
              - จัดทำคู่มือการใช้และแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
              - ทดลองใช้ แก้ไขปรับปรุงหนังสือเล่มเล็ก (บทเรียนสำเร็จรูป) ที่ทำขึ้นเรียบร้อยแล้วนำไปทดสอบกับนักเรียน เพื่อหาข้อผิดพลาด บกพร่อง และทำการแก้ไขปรับปรุงก่อนนำไปใช้จริง
              - นำไปเผยแพร่ บทเรียนที่ทำการแก้ไขปรับปรุงจนสมบูรณ์แล้วนำไปใช้สอนได้ และเผยแพร่เป็นต้นแบบ เพื่อให้ครูในโรงเรียนหรือโรงเรียนอื่นได้นำไปใช้ต่อไป

    ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงปัญหา และแนวทางแก้ไข โดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดเนื้อหาจากความยากง่าย ให้เนื้อหาทีละน้อยไปสู่เนื้อหาที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีนักเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการคำนึงหลักการสำคัญ


    บทสรุปของความสำเร็จ

    นางสาวดวงนภา  สุขคุ้ม ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำหนังสือเล่มเล็กกับคณะและเป็นผู้ทำการวิจัย เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาหนังสือเล่มเล็ก (บทเรียนสำเร็จรูป) ที่มีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดกวิศราราม ได้ผลสรุปจากการวิจัยภายหลังจากการนำหนังสือเล่มเล็กไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนแล้ว พบความสำเร็จที่น่าชื่นชม นักเรียนให้ความสนใจอ่านหนังือมากยิ่งขึ้นโรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมอีกหลายกิจกรรม อาทิ กิจกรรมนิทานหุ่นคุณธรรม กิจกกรรมป้ายนิเทศเพื่อพัฒนาการอ่านและจัดศูนย์การเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ผู้เรียน

    หนังสือเล่มเล็ก (บทเรียนสำเร็จรูป) ดังกล่าวนี้ จึงมิใช่หนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่ไร้พลัง หากแต่เป็นหนังสือเล่มเล็กที่เต็มไปด้วยพลังแห่งการเรียนรู้ พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้บริหารและครูได้ร่วมกันพัฒนาให้เป็นมรดกสำคัญในวงการศึกษาของประเทศไทย

    วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


    หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย
    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่านภาษาไทย
    2.เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน
    3.เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จินตนาการให้มากขึ้น
    4.เพื่อเป็นสื่อในการฝึกทักษะในการอ่าน
    5.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านและรู้จักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียน
    6.เพื่อให้นักเรียนได้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    ลักษณะ
          หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรีนี้จะเป็นแบบ  มีเนื้อหาน้อย สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย  มีการบรรยายโดยใช้ภาพการ์ตูน  และที่สำคัญเวลาเปิดไปหน้าต่อไปจะมีเสียงดนตรี เช่น  เรียนเรื่อง สัตว์ ก็จะมีเสียงสัตว์ต่างๆในหนังสือการ์ตูน  เป็นต้น
    ความคิดเห็น
       หนังสือการ์ตูนประกอบการเรียน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง "บุคคลสำคัญ"เป็นการนำการ์ตูนที่เด็กๆชอบมาประกอบการสอน จึงทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมาก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีอารมณ์ร่วมในการเรียน จึงทำให้เด็กเรียนรู้มากกว่าเดิมและสนใจที่จะเรียนในเรื่องต่อไป
    แหล่งอ้างอิง
          เพชรจันทร์  ภูทะวัง,วิทยานิพนธ์ เรื่อง การสร้างหนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี  สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย, ๒๕๔๗

    บ้านพอเพียง


    รศ.วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปี 2552 จำนวน 4 ล้านบาท เพื่อออกแบบและสร้างตัวอย่างบ้านพอเพียง 2 หลัง บนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ วิทยาเขตบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ขณะนี้บ้านต้นแบบเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยสามารถอยู่ได้จริง
    การออกแบบบ้านพอเพียงสำหรับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้ปานกลาง อาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ การผสมผสานวัสดุ ระบบอาคาร การแปลงทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลกับสภาพแวดล้อม สามารถลดค่าไฟฟ้าได้อย่างน้อย 3 เท่าเมื่อเทียบกับบ้านทั่วไป โดยใช้วัสดุเม็ดโฟมคอนกรีตน้ำหนักเบาจากโฟมรีไซเคิล ที่เหมาะสมกับภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย สามารถกันความร้อน-ความชื้นได้ดี
    ระบบโครงสร้างรับน้ำหนักด้วยกำแพงบ้านไม่มีขื่อหรือคาน ก่อสร้างง่าย รวดเร็วและบำรุงรักษาต่ำ
    สำหรับบ้านตัวอย่างเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 140 ตารางวา ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ พร้อมด้วยห้องพระ ห้องรับแขกและห้องครัว ติดเครื่องปรับอากาศขนาด 1.8 หมื่นบีทียู 1 เครื่อง ส่งอากาศผ่านระบบท่อไปทั่วทั้งหลัง เปิดได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เปลืองไฟ ซึ่งจะทำให้บ้านมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาตลอดปี ลานจอดรถได้ 2 คัน

    นักวิจัยเพิ่มเติมว่า องค์ความรู้ที่ประกอบเป็นบ้านพอเพียง ได้แก่ หลักการทำพื้นบ้านให้ต่ำอยู่เสมอชั้นเดียวกับดิน เพื่อให้ได้รับความเย็นจากพื้นดิน โฟมคอนกรีตซึ่งรีไซเคิลจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม มีคุณสมบัติน้ำหนักเบา ปลวกไม่กิน ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อรา เป็นฉนวนกันความร้อนภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านได้ดีกว่าผนังอิฐฉาบปูนทั่วไป 12 เท่า โครงสร้างหลังคากันความร้อนมากกว่าหลังคาคอนกรีต 24 เท่าและเบากว่า 10 เท่า โดยไม่ต้องใช้โครงเหล็ก ทั้งยังทนแรงลมได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    "เราใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 90 วัน ขณะที่สร้างบ้านทั่วไปใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ส่วนค่าก่อสร้างหลังเล็กประมาณ 5 แสนบาท แบบสองชั้นประมาณ 1.5 ล้านบาท แผนต่อยอดหลังจากนี้ จะทำดัชนีประเมินอาคารประหยัดพลังงาน เช่น การใช้วัสดุ รูปแบบอาคาร สภาพแวดล้อม เพื่อผลักดันเป็นกฎหมายสำหรับการก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงานแห่งชาติในอนาคต"
    ผู้ที่สนใจบ้านพอเพียงสามารถเยี่ยมชมได้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บางคล้า และ วช.จะจัดแสดงโมเดลบ้านพอเพียงในงาน Thailand Research Expo 2010 ระหว่างวันที่ 26-30 ส.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์
    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com/

    ข้าวไม่ต้องหุง


    ก่อนหน้านี้ศูนย์วิจัยข้าวกลางของรัฐบาลอินเดียสร้างความฮือฮาให้วงการข้าวทั่วโลก ด้วยการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยไม่หุงให้เปลืองไฟ เพียงแต่แช่น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา สามารถนำมารับประทานได้เลย

    ล่าสุดศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ กรมการข้าวของไทย ก็ประสบผลสำเร็จในการผลิต "ข้าวไม่ต้องหุง" เพียงแต่ใช้น้ำร้อนหรือน้ำอุ่นมาแช่ ก็สามารถนำมารับประทานได้เลยเช่นกัน เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก โดยเฉพาะนักเดินทาง

    ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวสารโดยไม่ต้องหุงในครั้งนี้ถูกเปิดเผยโดย สำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว ว่า ขณะนี้ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ดำเนินการศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวจนประสบผลสำเร็จ สามารถผลิตข้าวสารโดยไม่ต้องหุง

    เพียงแค่แช่น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หรือน้ำเดือด โดยใช้ตามอัตราข้าว  1 ส่วนต่อน้ำ 1 ส่วน หรือมากกว่าเล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 1.5 ส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ผู้บริโภคสามารถนำไปรับประทานได้ทันทีเหมือนกับข้าวสุกที่ผ่านวิธีการหุงตามปกติ แต่หากไม่มีน้ำร้อนสามารถแช่ในน้ำอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสได้โดยต้องแช่น้ำทิ้งไว้นาน 45 นาที สามารถรับประทานได้เช่นกัน

    การผลิตข้าวไม่ต้องหุงใช้ข้าวเปลือกจาก 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 กข39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และขาหนี่ โดยมีกระบวนการแปรรูปเป็นข้าวนึ่งที่ทำให้สุกด้วยไอน้ำ ลดความชื้น และนำไปสีให้เป็นข้าวสาร เมื่อต้องการบริโภคจะนำมาทำให้คืนตัวเป็นข้าวสุกพร้อมบริโภคเรียกว่า “ข้าวไม่ต้องหุง”  ซึ่งเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วในการบริโภคข้าว เนื่องจากสามารถพกพาติดตัวไปในสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย เหมาะแก่นักเดินป่า หรือกรณีรถติดบนถนนเป็นเวลานานๆ เพราะใช้อุปกรณ์การหุงน้อยชิ้นและที่สำคัญประหยัดพลังงานในการทำให้สุกด้วย

    อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคที่ไม่คุ้นเคยในการบริโภคข้าวไม่ต้องหุงที่ใช้วิธีการแช่น้ำ เพราะข้าวจะมีลักษณะร่วน รองอธิบดีกรมการข้าวแนะนำว่า ผู้บริโภคยังสามารถนำข้าวไม่ต้องหุงไปหุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าก็ได้ โดยใช้อัตราข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 1.25 ส่วน ใช้เวลา 15 นาที ซึ่งจะได้ข้าวสุกที่มีความนุ่มเช่นเดียวกับข้าวสุกทั่วไป

    ด้าน สกุล  มูลคำ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ บอกด้วยว่า จุดประกายในพัฒนาข้าวไม่ต้องหุงในครั้งนี้เกิดจากก่อนหน้านี้มีข่าวการทำข้าวไม่ต้องหุงของประเทศอินเดีย ประกอบกับภูมิปัญญาของพรานเดินป่าที่เตรียมข้าวสำหรับเดินป่าโดยการนำข้าวเปลือกมาแช่น้ำ นึ่ง ผึ่งแดดให้แห้ง ตำให้เป็นข้าวสารเมื่อต้องการทำให้สุกก็นำมาใส่กระบอกไม้เติมน้ำ เผาไฟ จนสุก

    ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ นำโดย ดร.ลือชัย อารยะรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการ ช่วยกันคิดค้นว่าจะทำอย่างไรจะให้ประเทศไทยมีข้าวไม่ต้องหุงขึ้นมาเมื่อ 4 อาทิตย์ที่ผ่านมา และจะนำผลงานไปเปิดตัวที่ จ.นครสวรรค์ ในต้นเดือนหน้า

     * ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่  สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว เลขที่ 156 หมู่ 3 ต.มะขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120 โทรศัพท์ 0-5331-1334-5

    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก
    http://www.bangkokbiznews.com

    จากขี้เลื่อย ยางพารา สู่แผ่นยางปูพื้นสนามหญ้า


    ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยสตรี ที่จัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ มีนักวิจัยสตรี ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยหลายรางวัล หนึ่งในนั้น นอกจากจะได้เหรียญเงิน ยังมีความโดดเด่นของชิ้นงานที่นำเอาทรัพยากรที่มีในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุด
    สิ่งประดิษฐ์ที่กล่าวถึงข้างต้น คือ แผ่นกระเบื้องยางปูสนามภายนอกอาคาร ทำจากวัสดุยางธรรมชาติคอมโพสิต ผลงานของ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ และนางสาวธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ผลงานที่คิดค้น มีจุดประสงค์เพื่อผลิตวัสดุที่มีต้นทุนต่ำเป็นทางเลือกนอกจากกระเบื้องเซรามิก ที่วางขายในตลาดที่มีราคาแพง ทั้งยังเห็นว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา ส่งออกยาง และมีผลิตภัณฑ์จากยางพาราส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้นในเมื่อวัตถุดิบในประเทศมีมากอยู่แล้วดังนั้นจึงเป็นอีกทางที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาพืชเศรษฐกิจและทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย แผ่นกระเบื้องยางปูสนามนอกอาคาร เกิดจากการคิดค้นสูตรและเทคนิคการใช้ยางธรรมชาติคอมโพสิต โดยนำขี้เลื่อยจากยางพาราซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์มาผสมกับยางพารา ผลการวิจัยพบว่า สูตรที่เหมาะสม  ในการนำไปผลิตทาง การค้า คือสูตรที่เติม ขี้เลื่อยในอัตราส่วน ที่เหมาะสม คือมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แผ่นกระเบื้องยางปูพื้นที่ได้  มีขนาด 25x25x25 ซม. มีความ สวยงามสามารถต่อเป็นจิ๊กซอว์และสามารถรับแสงได้ดี ทนต่อสภาวะอากาศการใช้งานภายนอกอาคาร

    จากการทดสอบพบว่า แผ่นกระเบื้องยางปูสนาม มีค่าคุณสมบัติการทนต่อแรงดึงเท่ากับ 4014 MPa ค่าทนทานต่อแรงดึงหลังจากทำการบ่มเร่งสภาวะที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 22 ชั่วโมงคือ 5.45 MPs ค่าความแข็งเท่ากับ 91.8 shor A ค่าการทนทานต่อการขัดถู 100 รอบ คือ 0.431 คุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นล้วนมีค่าสูงกว่ายางธรรมชาติบริสุทธิ์ และเปอร์เซ็นต์การดูดซับน้ำคือ 4.5%
    เจ้าของผลงานเล่าว่า ได้พิจารณาและคำนึงปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่ ความทนทานต่อสภาวะอากาศ สามารถรับน้ำหนักได้ ไม่ลื่น สามารถเปลี่ยนรูปแบบการวางและง่ายต่อการจัดการดูแลรักษา ตลอดจนสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ทั้งยังเหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทยที่มีผลต่ออายุการใช้งานและการบำรุงรักษา อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนบริเวณภายนอกอาคารจะร้อนมาก วัสดุควรมีลักษณะเป็นฉนวนไม่นำความร้อนทำให้เราสามารถเดินบนสนามหญ้าได้ ไม่อุ้มน้ำ รักษาสิ่งแวดล้อม
       
    ที่สำคัญราคาต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับเซรามิกที่วางขายตามท้องตลาดทั่ว ไป สอบถามรายละเอียดได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 08-3923-9790.
    มณีรัตน์ ปัญญพงษ์
    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dailynews.co.th/