ทุกหยาดเหงื่อเพื่อเธอ

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัดจีพีเอส


คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทประยุกต์ใช้งานจากโครงการไอพีเอสไอ โรบอท คอนเทสต์ 2010 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศประจำปี 2554 กับ “โครงการเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัดจีพีเอส” ของน้องเต้ยหรือนายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
       
น้องเต้ย เด็กรุ่นใหม่ที่มีใจรักในไอที บอกว่า ศึกษาเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารอยู่แล้ว จึงพัฒนาโครงงานนี้ ขึ้นมาจากความสนใจที่มีอยู่เดิม ประกอบกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ผ่านมา เช่นเครื่องบินตกที่จังหวัดน่าน พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถหาผู้ประสบภัยเจอ กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าช่วยเหลือ
       
ด้วยเหตุผลดังกล่าว เต้ยจึงได้พัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือและกู้ภัย โดยอุปกรณ์จะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยในทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งพิกัดที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยได้อย่างมาก ซึ่งโครงการนี้มีอาจารย์กำธร ใช้พระคุณ เป็นคุณครูที่ปรึกษา
   
น้องเต้ย บอกว่า ได้นำเทคโนโลยีการระบุพิกัดด้วยดาวเทียมหรือจีพีเอสมาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ และ การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมาช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว โดยการใช้การระบุพิกัดผ่านดาวเทียม และ  นำพิกัดดังกล่าวส่งไปกับคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียมไปยังสถานีฐาน หากเกิดเหตุขึ้น อุปกรณ์สามารถส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปพร้อมกับพิกัดจีพีเอส ไปยังสถานีฐานที่เป็นหน่วยกู้ภัยได้รับทราบถึงเหตุดังกล่าวและตำแหน่งที่ต้องเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
       
ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัดจีพีเอสได้พัฒนาอุปกรณ์ใน 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ จีพีเอส โมดุล โมเด็ม ระบบควบคุมการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ และเครื่องส่งวิทยุอุปกรณ์ แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
   
ทั้งนี้ได้ทดสอบการใช้งาน โดยจำลองค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ 5 ตารางกิโลเมตร พบว่าสามารถที่จะทราบเหตุที่เกิดขึ้นโดยทันที และสามารถที่จะเข้าช่วยเหลือได้ในเวลาไม่นานหลังจากได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือดังกล่าว
   
และจากการทดสอบพบ ว่าอุปกรณ์สามารถส่งสัญญาณได้ในระยะสูงสุดถึง 2,000 กิโล เมตร ห่างจากสถานีฐาน โดยใช้ดาวเทียมโฮป 1 (HOPE-1) คือสามารถรับพิกัดจากประเทศไทย (จังหวัดราชบุรี) จากหมู่เกาะตอนล่างของประเทศญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง
       
เต้ยบอกอีกว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อย่างเขา สนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เด็กบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่ถูก เอาเวลาส่วนใหญ่ไปใช้ในการเล่นเกม ดังนั้นควรที่จะมีการปรับนิสัยและพฤติกรรมให้ใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย.
 
แหล่งที่มา :   เดลินิวส์ออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น