ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยสตรี ที่จัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ มีนักวิจัยสตรี ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยหลายรางวัล หนึ่งในนั้น นอกจากจะได้เหรียญเงิน ยังมีความโดดเด่นของชิ้นงานที่นำเอาทรัพยากรที่มีในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุด
สิ่งประดิษฐ์ที่กล่าวถึงข้างต้น คือ แผ่นกระเบื้องยางปูสนามภายนอกอาคาร ทำจากวัสดุยางธรรมชาติคอมโพสิต ผลงานของ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ และนางสาวธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ผลงานที่คิดค้น มีจุดประสงค์เพื่อผลิตวัสดุที่มีต้นทุนต่ำเป็นทางเลือกนอกจากกระเบื้องเซรามิก ที่วางขายในตลาดที่มีราคาแพง ทั้งยังเห็นว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา ส่งออกยาง และมีผลิตภัณฑ์จากยางพาราส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้นในเมื่อวัตถุดิบในประเทศมีมากอยู่แล้วดังนั้นจึงเป็นอีกทางที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาพืชเศรษฐกิจและทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย แผ่นกระเบื้องยางปูสนามนอกอาคาร เกิดจากการคิดค้นสูตรและเทคนิคการใช้ยางธรรมชาติคอมโพสิต โดยนำขี้เลื่อยจากยางพาราซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์มาผสมกับยางพารา ผลการวิจัยพบว่า สูตรที่เหมาะสม ในการนำไปผลิตทาง การค้า คือสูตรที่เติม ขี้เลื่อยในอัตราส่วน ที่เหมาะสม คือมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แผ่นกระเบื้องยางปูพื้นที่ได้ มีขนาด 25x25x25 ซม. มีความ สวยงามสามารถต่อเป็นจิ๊กซอว์และสามารถรับแสงได้ดี ทนต่อสภาวะอากาศการใช้งานภายนอกอาคาร
เจ้าของผลงานเล่าว่า ได้พิจารณาและคำนึงปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่ ความทนทานต่อสภาวะอากาศ สามารถรับน้ำหนักได้ ไม่ลื่น สามารถเปลี่ยนรูปแบบการวางและง่ายต่อการจัดการดูแลรักษา ตลอดจนสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ทั้งยังเหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทยที่มีผลต่ออายุการใช้งานและการบำรุงรักษา อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนบริเวณภายนอกอาคารจะร้อนมาก วัสดุควรมีลักษณะเป็นฉนวนไม่นำความร้อนทำให้เราสามารถเดินบนสนามหญ้าได้ ไม่อุ้มน้ำ รักษาสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญราคาต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับเซรามิกที่วางขายตามท้องตลาดทั่ว ไป สอบถามรายละเอียดได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 08-3923-9790.
มณีรัตน์ ปัญญพงษ์
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dailynews.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น