ทุกหยาดเหงื่อเพื่อเธอ

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา

นวัตกรรมการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา 6 นวัตกรร คือ

นวัตกรรมที่ 1 :  หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่านภาษาไทย
2.เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน
3.เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จินตนาการให้มากขึ้น
4.เพื่อเป็นสื่อในการฝึกทักษะในการอ่าน
5.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านและรู้จักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียน
6.เพื่อให้นักเรียนได้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ลักษณะ
      หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรีนี้จะเป็นแบบ  มีเนื้อหาน้อย สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย  มีการบรรยายโดยใช้ภาพการ์ตูน  และที่สำคัญเวลาเปิดไปหน้าต่อไปจะมีเสียงดนตรี เช่น  เรียนเรื่อง สัตว์ ก็จะมีเสียงสัตว์ต่างๆในหนังสือการ์ตูน  เป็นต้น
ความคิดเห็น
   หนังสือการ์ตูนประกอบการเรียน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง "บุคคลสำคัญ"เป็นการนำการ์ตูนที่เด็กๆชอบมาประกอบการสอน จึงทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมาก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีอารมณ์ร่วมในการเรียน จึงทำให้เด็กเรียนรู้มากกว่าเดิมและสนใจที่จะเรียนในเรื่องต่อไป
แหล่งอ้างอิง
      เพชรจันทร์  ภูทะวัง,วิทยานิพนธ์ เรื่อง การสร้างหนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี  สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย, ๒๕๔๗
นวัตกรรมที่ 2 : การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
วัตถุประสงค์
1.ผู้เรียนสามารคิดแก้ปัญหาได้คิดอย่างวิจารณญาณ                                         
2.ใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลักษณะ     
       แหล่งเรียนรู้ในที่นี้อาจเป็นแหล่งสารสนเทศใดๆ ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ และบุคคลที่เป็นผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ โดยที่สารสนเทศอาจบันทึกอยู่ในรูปหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และ    อินเทอร์เน็ต สำหรับในปัจจุบันสารสนเทศบนเว็บนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก
ความคิดเห็น
       กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการวิเคราะห์ จากการแก้ปัญหาการ ที่ได้ประสบ จากการเรียนที่ต้องค้นคว้าด้วยตนเอง และผู้เรียนจะมีความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออกเนื่องจากการเรียนด้วยวิธี RBL ผู้เรียนจะต้องพึ่งพาตนเองสูง
แหล่งอ้างอิง
vdo.kku.ac.th/mediacenter/library/document/view-document.php?library_id=1311&lang=en&pid=922

นวัตกรรมที่ 3 : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนแผนจัดประสบการณ์
วัตถุประสงค์
1.ผู้เรียนสามารถบอกการเตรียมตัวก่อนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้
2.ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้
ลักษณะ
      บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าโดยมีการบรรจุเนื้อหา ชุดคำถาม พร้องเฉลยคำตอบเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและได้รับพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา อย่างเหมาะสมสามารถนำไปปฎิบัติ     จริงได้
ความคิดเห็น
       บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์มีคุณสมบัติที่มีเนื้อหา ภาพ เสียง ภาพเครื่อนไหวรวมอยู่ด้วยกัน ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์น่าสนใจ  ผู้เรียนเรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ
แหล่งอ้างอิง
    นายเสนีย์ โกสิยวัฒน์.วิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเขียนแผนการจัดการประสบการณ์สำหรับครูผู้สอนปฐมวัยศึกษา .มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2547.
นวัตกรรมที่ 4 : การเรียนแบบมัลติมีเดีย วิชา ชีววิทยาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูล การเรียนรู้แบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในด้านสมรรถภาพด้านทักษะในการสื่อสาร
ลักษณะ
1. มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ช่วยในการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา อันเป็นการเร้าความสนใจ สะดวก ประหยัดเวลา สามารถศึกษาค้นคว้าไว้ตามความสามารถและศักยภาพอย่างไม่จำกัด จะช่วยให้ การเรียนการสอนชีววิทยามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. การกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนการสอนวิชาชีววิทยามากขึ้น เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการสอนในห้องเรียนปกติซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ดีขึ้นทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
3. เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นหลัก สร้างความสามารถให้ผู้เรียนได้เรียนตามศักยภาพของตนเองแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทำให้เกิดเจตคติของการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4. สามารถใช้เรียนเสริมหรือซ่อมเสริมได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ
5. เป็นการใช้เทคโนโลยีสื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มคุณภาพในการเรียนการสอนนักเรียนจำนวนมากๆได้
ความคิดเห็น
      ไม่ใช่เพียงวิชาชีววิทยาเท่านั้นที่สามารถใช้ฐานข้อมูลการเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย แต่ทุกสาขาวิชาสามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ โดยการใช้เทคโนโลยีสื่อการศึกษานี้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการเรียนการสอนนักเรียนทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทาง schoolnet ได้ และสามารถให้นักเรียนใช้เรียนเสริมหรือซ่อมเสริมได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนในการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ
แหล่งอ้างอิง
     รายงานการวิจัย การพัฒนานวัตกรรมการเรียนแบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ดร.ชาตรี เกิดธรรม พ.ศ 2542
นวัตกรรมที่ 5 : การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ ในการหาคำราชาศัพท์
2. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะ
      เป็นการใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์ให้กับนักเรียนและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์
ความคิดเห็น
เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้นและเสริมสร้างทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ

แหล่งอ้างอิง
       วิทยานิพนธ์เรื่อง การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์     พ.ศ.2538
นวัตกรรมที่ 6 : บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ลักษณะ
       เป็นการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ
เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคนี้ซึ่ง e-Learning นี้ก็จะเป็นเส้นทาง
หนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ดั้งนั้นสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีการศึกษาในหลายๆรูปแบบถูกนำมา
ใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากร
มนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมต่อไปซึ่งเป็นยุคเทคโนโลยี
ความคิดเห็น
    - ให้แรงจูงใจแก่ผู้เรียน
    - บอกผู้เรียนให้ทราบว่าเขาจะเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง
    - การเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่
    - นำเสนอเนื้อหาใหม่
    - การให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลตอบกลับ
แหล่งอ้างอิง
ห้องสมุดงานวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ

แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด

แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   หากท่านใดสนใจข้อมูล  สามารถติดต่อได้ที่  ครูอรุณรัตน์  อุดมศักดิ์ โรงเรียนธรรมยานประยุต 037-243-435



- นักเรียนมีการพัฒนาด้านการเรียนรู้เพิ่มขึ้น

  • ผลสำเร็จ





  •                                                           แบบฝึกทักษะที่ ๑

                                  เรื่อง  การอ่านคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
                                         ในแม่กก  (คำที่สะกดด้วย  ข ค ฆ)

    จุดประสงค์  อ่านออกเสียงคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
                     ในแม่กกได้  (คำที่สะกดด้วย  ข ค ฆ)
      คำชี้แจง      ๑.  ฝึกอ่านออกเสียงตามครู
                       ๒.  ฝึกอ่านออกเสียงด้วยตนเอง
      สาระการเรียนรู้  มาตราตัวสะกด คือแม่บทแจกลูกอักษรตามหมวดคำที่มีตัวสะกดประกอบอยู่ข้างท้าย สระ ออกเสียงประสมเข้ากับสระ
                    แม่กก คือ พยางค์ที่มีตัว ก สะกด หรือตัวอื่นซึ่งทำหน้าที่เหมือนตัว ก สะกด ได้แก่ ตัว ข ค ฆ
    กิจกรรมการเรียนรู้
         
                                               ตัวอย่าง     สุข    อ่านว่า     สุก

                        ๑.        โชคดี               อ่านว่า     .................................................      

                        ๒.        สุนัข                อ่านว่า     .................................................

                        ๓.        สมัคร              อ่านว่า      ................................................

                        ๔.        สุขภาพ            อ่านว่า     ................................................

                        ๕.        บริจาค             อ่านว่า     ...............................................

                        ๖.       บุคคล               อ่านว่า     ................................................

                        ๗.       ก้อนเมฆ           อ่านว่า     ...............................................

                        ๘.        บริโภค            อ่านว่า     ..............................................

                        ๙.       ภาคภูมิ             อ่านว่า      .............................................  

                       ๑๐.      สามัคคี             อ่านว่า      ............................................

      ผลการประเมิน 

                    ได้...............คะแนน  อยู่ในระดับ      ดี      พอใช้       ปรับปรุง    

      หมายเหตุ     ได้คะแนน  ๘ - ๑๐  อยู่ในระดับ  ดี
                       ได้คะแนน  ๕ - ๗   อยู่ในระดับ  พอใช้
                       ได้คะแนน  ๑ - ๔   อยู่ในระดับ  ปรับปรุง


                              
                                      
                                                     แบบฝึกทักษะที่ ๒

                         เรื่อง  การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
                                 ในแม่กก  (คำที่สะกดด้วย  ข ค ฆ)

      จุดประสงค์  เขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
                     ในแม่กกได้  (คำที่สะกดด้วย  ข ค ฆ)
      คำชี้แจง      เขียนคำให้ถูกต้องจาก พยัญชนะ และสระ ที่วางปะปนกัน
      สาระการเรียนรู้  มาตราตัวสะกด คือแม่บทแจกลูกอักษรตามหมวดคำที่มีตัวสะกดประกอบอยู่ข้างท้ายสระ ออกเสียงประสมเข้ากับสระ
                    แม่กก คือ พยางค์ที่มีตัว ก สะกด หรือตัวอื่นซึ่งทำหน้าที่เหมือนตัว ก สะกด ได้แก่ ตัว ข ค ฆ
    กิจกรรมการเรียนรู้
         
                                             ตัวอย่าง           ขมุ    >    มุข           

                         ๑.        มั ย ค ยุ ส                 >           ................................  

                         ๒.        ระ โย ป ค                 >           ................................

                         ๓.        ค ค เท นิ                  >           ................................

                         ๔.        ค เรี น า ภ ย             >           ................................

                         ๕.        ณิ ค เล ต ข              >            ...............................

                          ๖.       ง โช ล า ค                >           ...............................

                          ๗.       ข โท เล ร                 >           ...............................

                          ๘.       ค ว รร อ ต น             >           ...............................

                          ๙.       ค ก พ รร พ ว            >            ...............................

                        ๑๐.        ข สุ ค ม ว า              >            ..............................


    ผลการประเมิน 

                    ได้...............คะแนน  อยู่ในระดับ      ดี      พอใช้       ปรับปรุง    

    หมายเหตุ     ได้คะแนน  ๘ - ๑๐  อยู่ในระดับ  ดี
                      ได้คะแนน  ๕ - ๗   อยู่ในระดับ  พอใช้
                       ได้คะแนน  ๑ - ๔   อยู่ในระดับ  ปรับปรุง

                                    
             ที่มา : http://www.sk1edu.org/bp/news.php?show=120
  • วิธีการสำคัญ/ขั้นตอน/กิจกรรม/นวัตกรรม







  •        

    หนังสือเล่มเล็ก The Little Book (บทเรียนสำเร็จรูป)

    ปรากฏการณ์ ณ โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกวิศรามราม

    โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกวิศราราม (ระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี จัดการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา โดยในปีการศึกษา ๒๕๔๖ ได้ขยายการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เป็นโรงเรียนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมด้านสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาในการจัดทำหนังสือเล่มเล็ก (The little book บทเรียนสำเร็จรูป) จนประสบความสำเร็จ


    ข้อค้นพบ  :  ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา

    ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดกวิศราราม ได้ขยายโอกาสทางการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ ๑ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ แต่ปรากฏว่านักเรียนให้ความสนใจกับการอ่านหนังสือน้อย ขาดความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น มุมหนังสือ ห้องสมุด ป้ายนิเทศ และศูนย์การเรียนรู้

    สภาพการณ์ดังกล่าวนี้เป็นข้อบ่งชี้ถึงอันตรายต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ เพราะการขาดนิสัยรักการอ่านจะส่งผลอย่างสำคัญในการอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการแสวงหาความรู้และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ของผู้เรียน

    ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ผู้บริหารและคณะครูร่วมกันแสวงหาแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าด้วยการจัดทำหนังสือเล่มเล็กที่มีรูปแบบสวยงาม กะทัดรัด เนื้อหาและภาพประกอบเหมาะสมกับความสนใจของผู้เรียนขึ้น


    การพัฒนานวัตกรรม

    ในการจัดทำหนังสือเล่มเล็กดังกล่าวนี้คณะผู้จัดทำได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานพัฒนาด้วยการศึกษาหลักสูตร ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนสำเร็จรูป ทฤษฎีจิตวิทยา เทคนิค กระบวนการผลิต วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จากนั้นดำเนินการสร้างหนังสือเล่มเล็กตามขั้นตอนดังนี้
              - เลือก และวิเคราะห์เนื้อหาที่จะนำมาจัดทำหนังสือเล่มเล็ก (บทเรียนสำเร็จรูป)
              - กำหนดแนวคิด และจุดมุ่งหมายของบทเรียน แนวคิดบทเรียนจะต้องชี้ชัดว่า สิ่งสำคัญของเรื่องที่เรียนนั้นมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้เรื่องใด
              - กำหนดรูปแบบของบทเรียนว่าจะเป็นแบบเส้นตรง หรือแบบสาขา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ของผู้เรียน
              - เขียนตัวบทเรียนโดยจะต้องแยกเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อย ๆ ที่เรียกว่ากรอบ โดยเรียงลำดับจากความยากง่าย จัดเนื้อหาแต่ละกรอบให้เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไปฯ
              - จัดทำคู่มือการใช้และแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
              - ทดลองใช้ แก้ไขปรับปรุงหนังสือเล่มเล็ก (บทเรียนสำเร็จรูป) ที่ทำขึ้นเรียบร้อยแล้วนำไปทดสอบกับนักเรียน เพื่อหาข้อผิดพลาด บกพร่อง และทำการแก้ไขปรับปรุงก่อนนำไปใช้จริง
              - นำไปเผยแพร่ บทเรียนที่ทำการแก้ไขปรับปรุงจนสมบูรณ์แล้วนำไปใช้สอนได้ และเผยแพร่เป็นต้นแบบ เพื่อให้ครูในโรงเรียนหรือโรงเรียนอื่นได้นำไปใช้ต่อไป

    ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงปัญหา และแนวทางแก้ไข โดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดเนื้อหาจากความยากง่าย ให้เนื้อหาทีละน้อยไปสู่เนื้อหาที่เพิ่มมากขึ้น โดยมีนักเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการคำนึงหลักการสำคัญ


    บทสรุปของความสำเร็จ

    นางสาวดวงนภา  สุขคุ้ม ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำหนังสือเล่มเล็กกับคณะและเป็นผู้ทำการวิจัย เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาหนังสือเล่มเล็ก (บทเรียนสำเร็จรูป) ที่มีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดกวิศราราม ได้ผลสรุปจากการวิจัยภายหลังจากการนำหนังสือเล่มเล็กไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนแล้ว พบความสำเร็จที่น่าชื่นชม นักเรียนให้ความสนใจอ่านหนังือมากยิ่งขึ้นโรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติมอีกหลายกิจกรรม อาทิ กิจกรรมนิทานหุ่นคุณธรรม กิจกกรรมป้ายนิเทศเพื่อพัฒนาการอ่านและจัดศูนย์การเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่ผู้เรียน

    หนังสือเล่มเล็ก (บทเรียนสำเร็จรูป) ดังกล่าวนี้ จึงมิใช่หนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่ไร้พลัง หากแต่เป็นหนังสือเล่มเล็กที่เต็มไปด้วยพลังแห่งการเรียนรู้ พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้บริหารและครูได้ร่วมกันพัฒนาให้เป็นมรดกสำคัญในวงการศึกษาของประเทศไทย

    วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


    หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย
    วัตถุประสงค์
    1.เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่านภาษาไทย
    2.เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน
    3.เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จินตนาการให้มากขึ้น
    4.เพื่อเป็นสื่อในการฝึกทักษะในการอ่าน
    5.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านและรู้จักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียน
    6.เพื่อให้นักเรียนได้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
    ลักษณะ
          หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรีนี้จะเป็นแบบ  มีเนื้อหาน้อย สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย  มีการบรรยายโดยใช้ภาพการ์ตูน  และที่สำคัญเวลาเปิดไปหน้าต่อไปจะมีเสียงดนตรี เช่น  เรียนเรื่อง สัตว์ ก็จะมีเสียงสัตว์ต่างๆในหนังสือการ์ตูน  เป็นต้น
    ความคิดเห็น
       หนังสือการ์ตูนประกอบการเรียน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง "บุคคลสำคัญ"เป็นการนำการ์ตูนที่เด็กๆชอบมาประกอบการสอน จึงทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมาก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีอารมณ์ร่วมในการเรียน จึงทำให้เด็กเรียนรู้มากกว่าเดิมและสนใจที่จะเรียนในเรื่องต่อไป
    แหล่งอ้างอิง
          เพชรจันทร์  ภูทะวัง,วิทยานิพนธ์ เรื่อง การสร้างหนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี  สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย, ๒๕๔๗

    บ้านพอเพียง


    รศ.วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปี 2552 จำนวน 4 ล้านบาท เพื่อออกแบบและสร้างตัวอย่างบ้านพอเพียง 2 หลัง บนพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ วิทยาเขตบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ขณะนี้บ้านต้นแบบเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยสามารถอยู่ได้จริง
    การออกแบบบ้านพอเพียงสำหรับผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้ปานกลาง อาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ การผสมผสานวัสดุ ระบบอาคาร การแปลงทรัพยากรธรรมชาติให้สมดุลกับสภาพแวดล้อม สามารถลดค่าไฟฟ้าได้อย่างน้อย 3 เท่าเมื่อเทียบกับบ้านทั่วไป โดยใช้วัสดุเม็ดโฟมคอนกรีตน้ำหนักเบาจากโฟมรีไซเคิล ที่เหมาะสมกับภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย สามารถกันความร้อน-ความชื้นได้ดี
    ระบบโครงสร้างรับน้ำหนักด้วยกำแพงบ้านไม่มีขื่อหรือคาน ก่อสร้างง่าย รวดเร็วและบำรุงรักษาต่ำ
    สำหรับบ้านตัวอย่างเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 140 ตารางวา ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ พร้อมด้วยห้องพระ ห้องรับแขกและห้องครัว ติดเครื่องปรับอากาศขนาด 1.8 หมื่นบีทียู 1 เครื่อง ส่งอากาศผ่านระบบท่อไปทั่วทั้งหลัง เปิดได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่เปลืองไฟ ซึ่งจะทำให้บ้านมีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาตลอดปี ลานจอดรถได้ 2 คัน

    นักวิจัยเพิ่มเติมว่า องค์ความรู้ที่ประกอบเป็นบ้านพอเพียง ได้แก่ หลักการทำพื้นบ้านให้ต่ำอยู่เสมอชั้นเดียวกับดิน เพื่อให้ได้รับความเย็นจากพื้นดิน โฟมคอนกรีตซึ่งรีไซเคิลจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม มีคุณสมบัติน้ำหนักเบา ปลวกไม่กิน ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อรา เป็นฉนวนกันความร้อนภายนอกเข้าสู่ตัวบ้านได้ดีกว่าผนังอิฐฉาบปูนทั่วไป 12 เท่า โครงสร้างหลังคากันความร้อนมากกว่าหลังคาคอนกรีต 24 เท่าและเบากว่า 10 เท่า โดยไม่ต้องใช้โครงเหล็ก ทั้งยังทนแรงลมได้ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
    "เราใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 90 วัน ขณะที่สร้างบ้านทั่วไปใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ส่วนค่าก่อสร้างหลังเล็กประมาณ 5 แสนบาท แบบสองชั้นประมาณ 1.5 ล้านบาท แผนต่อยอดหลังจากนี้ จะทำดัชนีประเมินอาคารประหยัดพลังงาน เช่น การใช้วัสดุ รูปแบบอาคาร สภาพแวดล้อม เพื่อผลักดันเป็นกฎหมายสำหรับการก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงานแห่งชาติในอนาคต"
    ผู้ที่สนใจบ้านพอเพียงสามารถเยี่ยมชมได้ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บางคล้า และ วช.จะจัดแสดงโมเดลบ้านพอเพียงในงาน Thailand Research Expo 2010 ระหว่างวันที่ 26-30 ส.ค.นี้ ณ ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์
    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com/

    ข้าวไม่ต้องหุง


    ก่อนหน้านี้ศูนย์วิจัยข้าวกลางของรัฐบาลอินเดียสร้างความฮือฮาให้วงการข้าวทั่วโลก ด้วยการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยไม่หุงให้เปลืองไฟ เพียงแต่แช่น้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา สามารถนำมารับประทานได้เลย

    ล่าสุดศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ กรมการข้าวของไทย ก็ประสบผลสำเร็จในการผลิต "ข้าวไม่ต้องหุง" เพียงแต่ใช้น้ำร้อนหรือน้ำอุ่นมาแช่ ก็สามารถนำมารับประทานได้เลยเช่นกัน เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก โดยเฉพาะนักเดินทาง

    ความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวสารโดยไม่ต้องหุงในครั้งนี้ถูกเปิดเผยโดย สำลี บุญญาวิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว ว่า ขณะนี้ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ดำเนินการศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวจนประสบผลสำเร็จ สามารถผลิตข้าวสารโดยไม่ต้องหุง

    เพียงแค่แช่น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส หรือน้ำเดือด โดยใช้ตามอัตราข้าว  1 ส่วนต่อน้ำ 1 ส่วน หรือมากกว่าเล็กน้อย แต่ไม่ควรเกิน 1.5 ส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ผู้บริโภคสามารถนำไปรับประทานได้ทันทีเหมือนกับข้าวสุกที่ผ่านวิธีการหุงตามปกติ แต่หากไม่มีน้ำร้อนสามารถแช่ในน้ำอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียสได้โดยต้องแช่น้ำทิ้งไว้นาน 45 นาที สามารถรับประทานได้เช่นกัน

    การผลิตข้าวไม่ต้องหุงใช้ข้าวเปลือกจาก 4 พันธุ์ ได้แก่ ขาวดอกมะลิ 105 กข39 ข้าวหลวงสันป่าตอง และขาหนี่ โดยมีกระบวนการแปรรูปเป็นข้าวนึ่งที่ทำให้สุกด้วยไอน้ำ ลดความชื้น และนำไปสีให้เป็นข้าวสาร เมื่อต้องการบริโภคจะนำมาทำให้คืนตัวเป็นข้าวสุกพร้อมบริโภคเรียกว่า “ข้าวไม่ต้องหุง”  ซึ่งเหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วในการบริโภคข้าว เนื่องจากสามารถพกพาติดตัวไปในสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย เหมาะแก่นักเดินป่า หรือกรณีรถติดบนถนนเป็นเวลานานๆ เพราะใช้อุปกรณ์การหุงน้อยชิ้นและที่สำคัญประหยัดพลังงานในการทำให้สุกด้วย

    อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคที่ไม่คุ้นเคยในการบริโภคข้าวไม่ต้องหุงที่ใช้วิธีการแช่น้ำ เพราะข้าวจะมีลักษณะร่วน รองอธิบดีกรมการข้าวแนะนำว่า ผู้บริโภคยังสามารถนำข้าวไม่ต้องหุงไปหุงด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าก็ได้ โดยใช้อัตราข้าว 1 ส่วนต่อน้ำ 1.25 ส่วน ใช้เวลา 15 นาที ซึ่งจะได้ข้าวสุกที่มีความนุ่มเช่นเดียวกับข้าวสุกทั่วไป

    ด้าน สกุล  มูลคำ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ บอกด้วยว่า จุดประกายในพัฒนาข้าวไม่ต้องหุงในครั้งนี้เกิดจากก่อนหน้านี้มีข่าวการทำข้าวไม่ต้องหุงของประเทศอินเดีย ประกอบกับภูมิปัญญาของพรานเดินป่าที่เตรียมข้าวสำหรับเดินป่าโดยการนำข้าวเปลือกมาแช่น้ำ นึ่ง ผึ่งแดดให้แห้ง ตำให้เป็นข้าวสารเมื่อต้องการทำให้สุกก็นำมาใส่กระบอกไม้เติมน้ำ เผาไฟ จนสุก

    ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ นำโดย ดร.ลือชัย อารยะรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการ ช่วยกันคิดค้นว่าจะทำอย่างไรจะให้ประเทศไทยมีข้าวไม่ต้องหุงขึ้นมาเมื่อ 4 อาทิตย์ที่ผ่านมา และจะนำผลงานไปเปิดตัวที่ จ.นครสวรรค์ ในต้นเดือนหน้า

     * ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่  สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว เลขที่ 156 หมู่ 3 ต.มะขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 50120 โทรศัพท์ 0-5331-1334-5

    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก
    http://www.bangkokbiznews.com

    จากขี้เลื่อย ยางพารา สู่แผ่นยางปูพื้นสนามหญ้า


    ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของนักวิจัยสตรี ที่จัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ มีนักวิจัยสตรี ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยหลายรางวัล หนึ่งในนั้น นอกจากจะได้เหรียญเงิน ยังมีความโดดเด่นของชิ้นงานที่นำเอาทรัพยากรที่มีในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุด
    สิ่งประดิษฐ์ที่กล่าวถึงข้างต้น คือ แผ่นกระเบื้องยางปูสนามภายนอกอาคาร ทำจากวัสดุยางธรรมชาติคอมโพสิต ผลงานของ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ และนางสาวธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์ นักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
    เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ผลงานที่คิดค้น มีจุดประสงค์เพื่อผลิตวัสดุที่มีต้นทุนต่ำเป็นทางเลือกนอกจากกระเบื้องเซรามิก ที่วางขายในตลาดที่มีราคาแพง ทั้งยังเห็นว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางพารา ส่งออกยาง และมีผลิตภัณฑ์จากยางพาราส่งออกเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้นในเมื่อวัตถุดิบในประเทศมีมากอยู่แล้วดังนั้นจึงเป็นอีกทางที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาพืชเศรษฐกิจและทรัพยากรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดย แผ่นกระเบื้องยางปูสนามนอกอาคาร เกิดจากการคิดค้นสูตรและเทคนิคการใช้ยางธรรมชาติคอมโพสิต โดยนำขี้เลื่อยจากยางพาราซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์มาผสมกับยางพารา ผลการวิจัยพบว่า สูตรที่เหมาะสม  ในการนำไปผลิตทาง การค้า คือสูตรที่เติม ขี้เลื่อยในอัตราส่วน ที่เหมาะสม คือมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ แผ่นกระเบื้องยางปูพื้นที่ได้  มีขนาด 25x25x25 ซม. มีความ สวยงามสามารถต่อเป็นจิ๊กซอว์และสามารถรับแสงได้ดี ทนต่อสภาวะอากาศการใช้งานภายนอกอาคาร

    จากการทดสอบพบว่า แผ่นกระเบื้องยางปูสนาม มีค่าคุณสมบัติการทนต่อแรงดึงเท่ากับ 4014 MPa ค่าทนทานต่อแรงดึงหลังจากทำการบ่มเร่งสภาวะที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 22 ชั่วโมงคือ 5.45 MPs ค่าความแข็งเท่ากับ 91.8 shor A ค่าการทนทานต่อการขัดถู 100 รอบ คือ 0.431 คุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้นล้วนมีค่าสูงกว่ายางธรรมชาติบริสุทธิ์ และเปอร์เซ็นต์การดูดซับน้ำคือ 4.5%
    เจ้าของผลงานเล่าว่า ได้พิจารณาและคำนึงปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่ ความทนทานต่อสภาวะอากาศ สามารถรับน้ำหนักได้ ไม่ลื่น สามารถเปลี่ยนรูปแบบการวางและง่ายต่อการจัดการดูแลรักษา ตลอดจนสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ทั้งยังเหมาะกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทยที่มีผลต่ออายุการใช้งานและการบำรุงรักษา อีกทั้งประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนบริเวณภายนอกอาคารจะร้อนมาก วัสดุควรมีลักษณะเป็นฉนวนไม่นำความร้อนทำให้เราสามารถเดินบนสนามหญ้าได้ ไม่อุ้มน้ำ รักษาสิ่งแวดล้อม
       
    ที่สำคัญราคาต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับเซรามิกที่วางขายตามท้องตลาดทั่ว ไป สอบถามรายละเอียดได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 08-3923-9790.
    มณีรัตน์ ปัญญพงษ์
    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dailynews.co.th/

    เปลี่ยนลูกหม่อนเป็น “มัลเบอร์รี่คริสตัล”



    จากลูกหม่อนที่ไม่มีค่า เปลี่ยนเป็นคริสตัลสวยงามในการจัดแต่งอาหาร รักในการตกแต่งอาหาร จนได้รับรางวัลมามากมาย เช่น นักศึกษารางวัลพระราชทาน ปี 2549 เยาวชนดีเด่นแห่งชาติแห่งชาติ สาขาอาชีพ ปี 2548 รางวัลการประกวด Fusion thai Sweet Contest (ขนมไทยใส่ไอเดีย)      
    “กวาง” เล่าว่า มัลเบอร์รี่คริสตัล (Mulberry Crystals : Topping and Decoration) เป็นการศึกษาการนำลูกหม่อนซึ่งเป็นผลผลิตที่มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยลูกหม่อนที่สุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมาะกับการทำผลิตภัณฑ์อาหาร      
    “กรรมวิธีการผลิต เริ่มต้นที่การคัดเลือกลูกหม่อนเพื่อทำซอสก่อน นำลูกหม่อนไปล้างน้ำสะอาดเพื่อลดจำนวนจุลินทรีย์ ชั่งน้ำหนักลูกหม่อนสีม่วง ต่อลูกหม่อนสีแดง ในอัตราส่วน 9:1 ทำการวัดปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และวัดความเป็นกรด ด่าง ของลูกหม่อนแต่ละสี สกัดน้ำลูกหม่อน โดยใช้ลูกหม่อนทั้งสองสีมาต้มกับกรดซิตริกและน้ำ เพื่อใช้ความร้อนช่วยให้เพคตินละลายออกมากยิ่งขึ้นและทำให้โปรโตรเพคตินที่มีในผลไม้ เปลี่ยนเป็นกรดเพกตินิค หรือเพคตินได้ ซึ่งจะช่วยให้มีเพคตินในน้ำผลไม้ให้มากยิ่งขึ้น”

        
    อดีตเยาวชนดีเด่น เล่าถึงกรรมวิธีต่ออีกว่าให้นำลูกหม่อนมาปั่นและกรองน้ำลูกหม่อน ต้มเคี่ยวน้ำสกัดลูกหม่อนกับน้ำตาลทราย และเกลือ จากนั้นใส่แป้งดัดแปรที่ละลายน้ำในอัตราส่วน 1:1:5 ต้มต่อจนวัดอุณหภูมิได้ 105 องศา วัดความหวานได้ 63 องศาบริกซ์ ใส่น้ำมะนาว ยกลงปรับ pH ให้อยู่ในระดับ 3.7 การปรับ pH ของซอสทำโดยการเพิ่มปริมาณของสารละลายกรดซิตริก จะได้ซอสลูกหม่อนสำหรับนำไปบรรจุภัณฑ์ ทำการบรรจุซอสลูกหม่อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 90 – 95 องศาเซลเซียสลงในขวดแก้วที่ผ่านการล้างและลวกฆ่าเชื้อปิดฝาทันทีแล้วหุ้มด้วยฟิล์มหด วางพักไว้ให้เย็นซึ่งซอสลูกหม่อนที่ได้นำมาผลิตมัลเบอร์รี่คริสตัล โดยนำซอสลูกหม่อน 30% เจลาติน 5% และผงวุ้น 5% น้ำสะอาด 30% ของน้ำหนักที่กำหนด”
    จากนั้นนำไปต้มเคี่ยววัดความหวาน เมื่อต้มเคี่ยวได้ที่แล้วนำไปใส่ในถุงบีบซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว นำไปบีบลงบนน้ำมัน เทผ่านกระชอน พักไว้ให้สะเด็ดน้ำที่อุณหภูมิห้อง มัลเบอร์รี่คริสตัลที่ได้นำไปแช่ในน้ำเชื่อม และนำไปบรรจุลงในขวดแก้วที่ผ่านการล้างและลวกฆ่าเชื้อแล้ว โดยชั่งน้ำหนักสุทธิของมัลเบอร์รี่คริสตัลให้เท่ากันทุกขวด แล้วทำการปิดผนึกฝาทันที แค่นี้ก็จะได้มัลเบอร์รี่คริสตัลที่สามารถนำมาตกแต่งอาหารไม่เหมือนใคร ใครเห็นก็คิดว่าเป็นไข่ปลาคาเวียร์ 
             
    ทั้งนี้ในอนาคตเจ้าของไอเดียฝากมาบอกอีกว่า ตนได้ยื่นจดสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว จะนำเอาผลไม้ไทยๆที่มีในแต่ละฤดู มาทำเป็นคริสตัลสีต่างๆ ซึ่งนอกจากความสวยงามแล้วในลูกหม่อนยังมีคุณค่าทางอาหารมากมาย เช่น วิตามินเอ บี1 บี2 บี6 วิตามินซี แคมเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก กรดโฟลิค สารเควอซิติน(Quercetin) และเคมเฟอรอล(Kaempferol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง      

    “การทำอาหารของผมส่วนใหญ่เกิดจากความชอบส่วนตัว อาหารทำให้ผมได้ใช้จินตนาการอยู่ตลอดเวลา อาหารไม่ใช่ต้องทำอย่างเดียวซ้ำๆ อาหารที่ผมได้สัมผัสมันคือความแตกต่าง เพราะแต่ล่ะสถานที่มีวัฒนธรรมการกินที่ไม่เหมือนกัน อาหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ทำให้ผมได้เรียนรู้อยู่ทุกๆ วัน อาหารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเหมือนโลกที่กำลังหมุนรอบตัวเอง ในความคิดของผมอาหารไม่ได้สำคัญเฉพาะรสชาติเพียงอย่างเดียว หากแต่ความใส่ใจทุกรายละเอียดก็จะทำให้อาหารจานนั้นพิเศษกว่าจานอื่น เพราะอาหารจานนั้นปรุงแต่งจากหัวใจของคนทำ” กวางกล่าวทิ้งท้าย
    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.manager.co.th/

    ผลิตภัณฑ์นมควาย

    หลังจากสร้างตลาดสำหรับน้ำนมกระบือภายใต้ชื่อ มูร์ร่าห์ฟาร์ม เป็นแห่งแรกของไทย  ชาริณี ชัยยศลาภ ผู้จัดการบริษัท มูร์ร่าห์ แดรี่ จำกัดยังมองหาช่องทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากนมกระบือ โดยเฉพาะเนยแข็งมอสซาเรลลาที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยได้ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มาช่วยทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
    “เราเริ่มทำเนยแข็งมอสซาเรลลาในช่วงปี 2550 อาศัยการดูงานในอิตาลี และศึกษาข้อมูลจากหนังสือต่างประเทศ แต่ผลที่ได้กลับไม่เป็นไปตามคาด เนยแข็งมอสซาเรลลายังไม่ได้มาตรฐาน” ชาริณีกล่าว
    กระบวนการผลิตเนยแข็งแบบ "ครูพักลักจำ" ทำให้ผลผลิตเนยนุ่มบ้าง แห้งบ้าง ไม่สม่ำเสมอ ถูกน้ำเปื่อยยุ่ย และไม่ยืดตัว  จนกระทั่งได้ผู้เชี่ยวชาญจากสจล. เข้ามาปรบปรุงกระบวนการผลิตหาต้นเหตุของการผลิตที่ยังไม่เข้าที่เข้าทาง
    ปัญหาที่ รศ.ดร.วรรณา ตั้งเจริญชัย หัวหน้าโครงการจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร พบคือ กระบวนการผลิตที่ยังขาดความเที่ยงตรงแม่นยำ อาศัยการประมาณส่วนผสมทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ได้สม่ำเสมอ
    “เราเริ่มปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยเริ่มตั้งแต่การพาสเจอร์ไรซ์นมที่ถูกวิธี เปลี่ยนจากการต้มโดยตรงมาเป็นต้มแบบหม้อ 2 ชั้น จากนั้นพัฒนาสูตรการหมักนม โดยวางสัดส่วนนมและเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ จัดให้มีการชั่ง ตวง วัดที่แน่นอน ขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมค่าความเป็นกรด/ด่าง (pH) ของนมตั้งแต่เริ่มหมัก” รศ.ดร.วรรณา อธิบายกลไก
    ค่า pH มีความสำคัญต่อการยืดตัวของชีส จากเดิมนมมีค่า pH 6.5  หากต้องการทำให้ชีสยืดตัว ต้องคงอุณหภูมิให้อยู่ที่ 41-42 องศาเซลเซียส จนจบกระบวนการผลิต เพื่อให้ค่า pH ค่อยๆ ลดลงมาอยู่ระดับ 5 ซึ่งชีสยืดตัวได้ดี
    กระบวนการผลิตที่ชัดเจนขึ้นถูกนำไปทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการจนสำเร็จ ก่อนเดินเครื่องทดสอบในขนาดที่ใหญ่ขึ้น ผลผลิตชีสมอสซาเรลลาที่ได้จากกระบวนการผลิตใหม่ มีเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น เนื้อไม่ยุ่ย มีความยืดตัว คุณภาพดี และแน่นอนทุกครั้งที่ผลิต เทียบเคียงได้กับของอิตาลี
    หลังจากประสบความสำเร็จในการนำงานวิจัยมาช่วยปรับปรุงคุณภาพเนยแข็งมอสซาเรลลา ผู้จัดการบริษัท มูร์ร่าห์ แดรี่ จำกัดเผยว่า มีแผนที่จะทำวิจัยร่วมกับ สกว. โดยมอง “หางนม” หรือ Whey ซึ่งเป็นของเหลือจากการผลิต ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม
    “ปกติ หางนมจะถูกนำไปทำริคอตต้าชีส และเป็นน้ำนมเลี้ยงลูกควาย แต่ก็ยังเหลือในปริมาณมาก ประกอบกับเรามองเห็นโอกาสในตลาดที่มีการนำหางนมวัวไปทำ เวย์โปรตีน อาหารเสริมมูลค่าสูง และนมควายมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า จึงอยากที่จะลองหาช่องทางพัฒนา” ชาริณีกล่าว
    เวย์โปรตีน มักผลิตในในรูปผง ซึ่งการทำผงต้องใช้เครื่องสเปรย์ดราย ราคากว่า 10 ล้าน จึงมองเป็นผลิตภัณฑ์อื่น อาจเป็นเครื่องดื่มเวย์โปรตีนจากนมควาย ที่จะทำตลาดได้ดี ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการทำโครงการและค้นหานักวิจัยผู้เชี่ยวชาญมาสนับสนุนต่อไป
    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.bangkokbiznews.com/

    ที่นั่งช่วยปัสสาวะให้ผู้ป่วย

    รศ.ดร.กอบวุฒิ รุจิจนากุล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้จดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ที่นั่งช่วยสังเกต และเก็บตัวอย่างจากระบบขับถ่ายและบริเวณใกล้เคียงระบบขับถ่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการร้องขอจาก นางญาณิกา รุจิจนากุล พยาบาลประจำแผนกสูตินารีเวชโรงพยาบาลมหาราช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ตนเป็นผู้ออกแบบ โดยวัตถุประสงค์เดิมของอุปกรณ์ดังกล่าว คือ มีไว้เพื่อให้ผู้ป่วยใช้สวนท่อปัสสาวะโดยเฉพาะผู้ป่วยสตรี แต่ตนได้ออกแบบให้ครอบคลุมการใช้งานในหลายๆ ด้าน และสามารถใช้ได้ทั้งชายและหญิง
    ทั้งนี้มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งในหอผู้ป่วยนรีเวชกรรม 3 โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะหนึ่งบีและสองเอ ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดมดลูกแบบถอนรากถอนโคน (Radical hysterectomy) เป็นการตัดเนื้อเยื่อข้างมดลูกและเนื้อเยื่อข้างช่องคลอดออกมากขึ้น ร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยทุกรายหลังผ่าตัดโดยวิธีนี้ คือ การทำหน้าที่ผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ จึงต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้อย่างน้อย 5-7 วันแรกหลังผ่าตัด และต้องตรวจการทำงานของกระเพาะปัสสาวะจนแน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถปัสสาวะเองได้แล้ว
    การผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งปากมดลูก มักมีการกระทบต่อส่วนล่างของท่อไตและกระเพาะปัสสาวะเสมอ เพราะอวัยวะส่วนนี้มีความสัมพันธ์ทางด้านกายวิภาค สรีรวิทยา พยาธิวิทยาต่อการผ่าตัดการรักษา ตลอดจนการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย คือ การทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ซึ่งจะสามารถฟื้นกลับคืนได้เป็นปกติได้ในเวลาที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการผ่าตัดที่มีการเลาะต่อมน้ำเหลืองและกระทบกระเทือนเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณกระเพาะปัสสาวะ กายวิภาคของผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้ผู้ป่วยร้อยละ 66-70 สามารถถ่ายปัสสาวะได้เองภายใน 30 วันหลังผ่าตัด
    ดังนั้นผู้ป่วยที่มีการทำงานของกระเพาะปัสสาวะที่ผิดปกติจะต้องมีการสวนปัสสาวะด้วยตนเอง โดยสอดใส่สายสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อเข้าไปในท่อปัสสาวะจนถึงกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะไหลออกมา โดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อและต้องทำทุก 4 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะประเมินได้ว่าผู้ป่วยสามารถถ่ายปัสสาวะเองได้หมด หรือมีปัสสาวะค้างไม่เกิน 75 มิลลิลิตร
    ขั้นตอนเดิมที่ใช้ในการสวนปัสสาวะด้วยตนเอง คือ ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าคุกเข่าบนเตียง หรือยืนสวนปัสสาวะ โดยยกขาข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ยืนคร่อมกระจกเงา บางครั้งผู้ป่วยต้องงอเข่าลงเพื่อให้ปัสสาวะไหลลงให้ตรงถ้วยตวงที่ใช้รองรับปัสสาวะ ทำให้เกิดการปวดเข่า ปวดขา ปวดหลัง บางรายจะมีแคมในบวมมากทำให้สวนปัสสาวะลำบาก มองเห็นรูปัสสาวะไม่ชัดเจน จากปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดในการประยุกต์เก้าอี้เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ทำการสวนปัสสาวะด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบาย ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ เข่า ขา และหลัง และมองเห็นรูเปิดท่อปัสสาวะชัดเจน โดยครั้งแรกได้มีการประดิษฐ์เก้าอี้สวนปัสสาวะในปี 2549 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจระดับหนึ่ง เนื่องจากการสวนปัสสาวะต้องมีการล้างมือที่สะอาด 7 ขั้นตอน และยกขาข้ามเก้าอี้นั่งโดยไม่ให้มือสัมผัสกับวัตถุใด แล้วจึงหยิบสายสวนปัสสาวะ แต่พบปัญหาตามมาคือผู้ป่วยที่มีอายุมากบางคนน้ำหนักตัวมาก ขาและเข่ายกไม่ค่อยได้ การทรงตัวไม่ดี มีโอกาสลื่นล้มได้ จึงคิดประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ที่นั่งช่วยสังเกตและเก็บตัวอย่างจากระบบขับถ่ายและบริเวณใกล้เคียงระบบขับถ่าย
    ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการช่วยผู้ป่วยในการสวนท่อปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากความจำเป็นของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจากแพทย์ อาทิ การผ่าตัด ทางแพทย์มีความจำเป็นต้องการประเมินผลการรักษา ข้อมูลที่สำคัญอันหนึ่ง คือ ปริมาณปัสสาวะและสิ่งที่ปะปนมากับปัสสาวะ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ในกรณีสุภาพสตรีนั้นค่อนข้างมีปัญหา เนื่องจากปัจจัยทางสรีระของสุภาพสตรีเอง ทำให้การสวนทำได้ยากและมักมีการติดเชื้อหลังการสวน อุปกรณ์ดังกล่าวจึงน่าจะบรรเทาความทุกข์ยากของผู้ป่วยได้และทำให้การประเมินการรักษาทำได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยต้องทำการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน
    อุปกรณ์นี้ยังสามารถใช้ในการเก็บตัวอย่างทางทวารหนัก รวมทั้งใช้ในการสังเกตโรคทางทวารทั้งสองด้วยตนเอง เช่น โรคริดสีดวง โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับต่อมลูกหมากในสุภาพบุรุษ และพยาธิ นอกจากนี้ยังช่วยให้การใช้ยารักษาเชื้อราชนิดต่างๆ สะดวกขึ้น ตลอดจนช่วยให้การให้ยาช่วยถ่ายสะดวกขึ้น และช่วยในการสังเกตการอักเสบ แผลหลังการคลอด และการผ่าตัดด้วย
    “อุปกรณ์ที่ใกล้เคียงหรือมีหลักการทำนองนี้ ได้มีจำหน่ายและจดสิทธิบัตรบ้าง แต่เมื่อเทียบกับสิ่งประดิษฐ์ของตนแล้วพบว่าสิ่งที่ทำขึ้นมีความสะดวกกว่า ครอบคลุมการใช้งานมากกว่า ที่สำคัญคือผลิตภัณฑ์ที่ตนออกแบบนี้มีถูกกว่าต่างประเทศมาก ต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณ 2,000 บาท โดยดัดแปลงจากเก้าอี้ที่มีอยู่ทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันมีคนไข้รอการใช้เครื่องมือดังกล่าวอยู่จำนวนมาก จึงคาดว่าผลิตภัณฑ์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างยิ่ง” รศ.ดร.กอบวุฒิ กล่าว

    ฝ่ายวิชาการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
    ขอขอบคุณเนื้อหาจาก http://www.dailynews.co.th/

    วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    เครื่องตรวจบัตรเครดิตปลอม

    เครื่องตรวจบัตรเครดิตปลอม

      ปัญหาบัตรเครดิตปลอมเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทั่วโลกรวมทั้ง ประเทศไทยซึ่งเกิดขึ้นในหลายจังหวัดของประเทศ โดยใช้วิธีการหลากหลายในการขโมยข้อมูลต่างๆ เช่น การแจ้งบัตรหายหรือบัตรถูกขโมย แล้วกลับนำบัตรไปใช้ในการทุจริต หรืออาจมีการปลอมแปลงเอกสารการสมัครเป็นชื่อบุคคลอื่นแล้วนำบัตรดังกล่าวไปใช้ ที่พบเจอมากที่สุดก็คือ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยคัดลอกข้อมูลในบัตรและปลอมบัตรใหม่ไปใช้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือได้ว่ามีความผิดเป็นอาชญากรข้ามชาติเลยทีเดียว

        เนื่องจากผู้กระทำผิดในธุรกิจประเภทนี้มีทั้งที่เป็นคนไทยและชาวต่างชาติที่ เข้ามากระทำการในประเทศไทย โดยบุคคลทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีขั้นตอนการทำงานและวางแผนอย่างเป็นระบบ ซึ่งที่ผ่านมากรมสอบสวนคดีพิเศษได้เคยจับกุมชาวต่างชาติกรณีใช้บัตรเครดิตปลอม โดยใช้วิธีขโมยข้อมูลบัตรเครดิตผ่านทางสายโทรศัพท์ (wire  tapping) ของบุคคลอื่น เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วจะใช้เครื่องแปลงข้อมูลลงในบัตรใหม่ โดยมีการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมหรือหนังสือเดินทางปลอมใช้ควบคู่กับ บัตรเครดิตที่ปลอมขึ้นและนำไปใช้ในทางทุจริต มีข้อมูลตัวเลขความเสียจากการปลอมแปลงบัตรเครดิตในประเทศอังกฤษ จากองค์กรชื่อ APAC ซึ่งเป็นองค์กรทางด้านธุรกรรมทางการเงินได้สรุปรายงานล่าสุดออกมาเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากบัตรปลอมที่ทำขึ้นเลียนแบบบัตรจริงที่ออกโดยหน่วยงานในประเทศอังกฤษ ตัวเลขในรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงมูลค่าความเสียหายในปี พ.ศ. 2552ที่เกิดขึ้นภายในประเทศอังกฤษมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2551 19% หรือคิดเป็น36.9 ล้านปอนด์ ในขณะที่มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนอกประเทศมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 17% หรือคิดเป็น 132.9 ล้านปอนด์ (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จาก www.cardwatch.org.uk )จากปัญหาดังกล่าวเนคเทคจึงได้วิจัยพัฒนา “เครื่องตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม”  ขึ้น






         


        “เครื่องตรวจสอบบัตรเครดิตปลอม” เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งจากผลงานวิจัยของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นำโดย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร และ นายยุทธนา อินทรวันณี ที่ได้ผสมผสานความรู้ทางด้านแสง อิเล็กทรอนิกส์ และ ซอฟท์แวร์ เข้าด้วยกัน ทั้งยังได้จดสิทธิบัตรคุ้มครอง และ มีผลการทดสอบที่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการระดับสากลในวารสารวิชาการ Applied Optics เดือน ธันวาคม 2552 และ กุมภาพันธ์ 2553
        เครื่องตรวจบัตรเครดิตปลอมที่ทางหน่วยฯ ได้พัฒนาขึ้นสามารถตรวจสอบตัวบัตรเครดิตได้ว่าเป็นบัตรเครดิตจริงหรือปลอม โดยไม่ต้องตรวจสอบข้อมูลที่เก็บอยู่ในภายแถบแม่เหล็กหรือชิป ทำให้ปราศจากข้อกังวลในเรื่องการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องตรวจบัตรเครดิตรุ่นนี้ได้ผ่านการทดสอบในงานแสดงสินค้า ComMart โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (KTC) มาแล้ว ปัจจุบันหน่วยงานตรวจสอบบัตรเครดิตของบริษัท บัตรกรุงไทย (มหาชน) จำกัด และของธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีเครื่องรุ่นนี้ไว้ใช้แล้ว นอกจากนี้ทางหน่วยฯ ยังได้ขายสิทธิ์การผลิตให้แก่บริษัท นิวเวฟไอเดียส์ จำกัด เพื่อต่อยอดในเชิงพาณิชย์ต่อไป อนึ่งสำหรับบัตรเครดิตปลอมที่ตรวจสอบได้หมายถึงบัตรเครดิตที่ตัวบัตรเป็นของปลอม ไม่ใช่บัตรเครดิตจริงที่ถูกขโมยมา
        คุณสมบัติเบื้องต้น:
         ชนิดของบัตรเครดิต      VISA, MasterCard
         ความถูกต้อง      100%
         เวลาที่ใช้ในการตรวจ      < 0.5 วินาที
          ขนาด (กxยxส)      9x17x10 ซม.3
         แรงดันไฟฟ้าที่ต้องการ      9-15 VDC, 1000 mA

         ลักษณะเด่น:  ขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน

        การใช้งาน: เพียง เปิดเครื่องฯ จากนั้นเสียบบัตรเครดิตที่ต้องการตรวจสอบเข้าช่องเสียบบัตร แล้วสังเกตหน้าจอแสดงผล หลังจากที่ระบบประมวลผลเสร็จ ตัวอักษรสีเขียวจะปรากฏบนหน้าจอ สำหรับกรณีบัตรเครดิตที่ตัวบัตรเป็นของจริง แต่จะปรากฏเพียงแถบสีเขียวหรือหน้าจอว่างกรณีที่ตัวบัตรเป็นของปลอม
        ทำไมต้องตรวจสอบบัตรเครดิตด้วยเครื่องตรวจบัตรเครดิต? จริงๆ แล้วบัตรเครดิตทั้งของ VISA และ MasterCard มีเอกลักษณ์ที่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าสำหรับใช้จำแนกบัตรเครดิตจริงออกจากบัตรเครดิตปลอมอยู่ 5 ตำแหน่ง ดังนี้
        • ชื่อผู้ถือบัตร และ ตัวเลข 16 หลัก ซึ่งบ่งบอกชนิดของบัตร และ หน่วยงานที่เป็นผู้ออกบัตรให้
        • สัญลักษณ์ของบัตรเครดิต เช่น VISA และ MasterCard ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง
        • บริเวณเก็บข้อมูล เช่น แถบแม่เหล็ก และ ชิป รวมไปถึงตัวเลข 3 หลัก ที่อยู่ด้านหลังบัตรเครดิต
        • ฮอโลแกรม หรือ รูปที่พิมพ์อยู่บนแถบโลหะ ซึ่งสามารถเปลี่ยนสีหรือรูปร่างไปมาได้เมื่อมุมของการสังเกตหรือมุมของแสง เปลี่ยนไป สำหรับบัตร VISA จะเป็นรูปนก ส่วนบัตร     MasterCard จะเป็นรูปลูกโลก
        • ภาพเรืองแสงบนตัวบัตรเมื่อมีแสงแบล๊คไลท์ส่่องไปยังตัวบัตร 

          
         เอกลักษณ์ภายนอกที่ได้จากบัตรเครดิตจริง  เอกลักษณ์ภายนอกที่ได้จากบัตรเครดิตปลอม


        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ส่งผลให้เอกลักษณ์เหล่านี้ปรากฏอยู่บนตัวบัตรเครดิตปลอมเช่นกัน เพียงแต่ส่วนใหญ่จะมีรายละเอียดในระดับไมโครเมตรหรือนาโนเมตรที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเกินความสามารถของตามนุษย์ที่จะแยกแยะความแตกต่างนี้ได้ เนื่องจากแสงมีความถี่สูง หรือ ความยาวคลื่นต่ำ ในระดับนาโนเมตร เครื่องตรวจบัตรเครดิตที่ใช้การผสมผสานความรู้สามแขนงเข้าด้วยกันตามที่ได้อธิบายข้างต้น จึงสามารถแยกแยะความแตกต่างเบื้องต้นและแสดงให้เห็นได้ว่าตัวบัตรเครดิตที่ กำลังตรวจสอบนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม

        เปลี่ยนความหวานเป็นพลังงานชีวมวล

        เสร็จสิ้นไปแล้วในเฟสแรกสำหรับภารกิจการแก้ไขปัญหาลำไยค้างสต๊อก ตั้งแต่ปี 2546-2547 ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับอาสานำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการแปรสภาพลำไยค้างสต๊อก กว่า 46,000 ตัน ให้กลายมาเป็น  “เชื้อเพลิงชีวมวล” สร้างรายได้คืนกลับเข้ารัฐ แทนที่จะเสียแต่ค่าทำลายและสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม
           

        “ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ บอกว่า ขณะนี้การดำเนินงานในเฟสแรกคือ บดลำไยหน้าโกดัง 60 แห่ง ใน 4 จังหวัดภาคเหนือ เรียบร้อยแล้ว และจะนำไปอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล คาดว่าสามารถนำออกจำหน่ายให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ในปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นเงินรายได้คืนสู่ภาครัฐไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท  ทีเดียว
        โครงการนี้นอกจากจะแปรสภาพลำไยค้างสต๊อกที่เน่าเสียให้มาเป็นเชื้อเพลิงและทำให้รัฐไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเช่าโกดังเพื่อจัดเก็บแล้ว ที่สำคัญยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อลำไยในต่างประเทศว่าจะไม่มีการปลอมปนลำไยค้างสต๊อก ช่วยทำให้ราคาลำไยที่ส่งออกสูงขึ้นอีกด้วย และความสำเร็จที่ได้มานี้...ปฏิเสธไม่ได้กับความสำคัญของเทคโนโลยีที่นำมาใช้แก้ไขปัญหา 
        ดร.รังสรรค์  ทองทา อาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) บอกว่าได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ร่วมมือกับสมาคมเครื่องจักรกลไทย พัฒนาเครื่องจักรเพื่อดำเนินการรีไซเคิลลำไยอย่างบูรณาการทั้งด้านวิชาการและวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเทคโนโลยีหลักที่ใช้ก็คือ เครื่องบดย่อยหน้าโกดัง และเครื่องอัดแท่งชีวมวลที่เป็นการพัฒนาต่อยอดเครื่องจักรในโครงการวิศวกรรมย้อนรอย

        นอกจากนี้ยังมีการนำเทค โนโลยีมาใช้ในหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นระบบตรวจนับจำนวนและปริมาณลำไยจากโกดังด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ซึ่งมีการขนกล่องใส่รถเข็นผ่านระบบเครื่องชั่ง มาตรฐานพร้อมให้คนงานแตะบัตรที่เป็นของตัวเอง ทำให้ข้อมูลทั้งจำนวนกล่องและน้ำหนักลำไยถูกส่งผ่านคอมพิวเตอร์ มีการพิมพ์รายละเอียดลงบนกระดาษคาร์บอนเพื่อเก็บเป็นหลักฐาน ขณะเดียวกันข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปเก็บยังเซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางโดยระบบส่งผ่านข้อมูลผ่านดาวเทียม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูการทำงานผ่านเว็บไซต์ติดตามผลได้ทันที
        และเพื่อความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน มีการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดไร้สายครอบคลุมพื้นที่การทำงานทั้งหมด บันทึกตลอดระยะเวลาการทำงาน และใช้ระบบจีพีเอส แทร็คกิ้งติดตามรถขนส่งต่าง ๆ

           
        สำหรับการดำเนินงานในเฟสสอง  ดร.รังสรรค์ บอกว่า จะเป็นขั้นตอนของการพัฒนาเป็นชีวมวล ซึ่งมีการลำเลียงลำไยที่บดย่อยแล้วไปสถานที่ผลิต 2 จุดใหญ่ คือ ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งสมาคมเครื่องจักรกลไทยเป็นผู้ดำเนินการ และที่จังหวัดสระบุรี มทส.เป็นผู้ดำเนินการ 
        โดยเครื่องอัดแท่งชีวมวลจะทำการอัดแท่งลำไยที่บดแล้วขึ้นรูปเป็นพิวเล็ต (pillet) หรือเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ พร้อมใช้ในอุตสาหกรรมและโรงอบลำไยต่าง ๆ คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งในส่วนของ มทส.ที่สระบุรี ได้ตกลงจำหน่ายเชื้อเพลิงดังกล่าวกับภาคอุตสาหกรรมคือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะนำไปใช้ที่โรงงานแก่งคอยและท่าหลวง

        เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัดจีพีเอส


        คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทประยุกต์ใช้งานจากโครงการไอพีเอสไอ โรบอท คอนเทสต์ 2010 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศประจำปี 2554 กับ “โครงการเครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัดจีพีเอส” ของน้องเต้ยหรือนายพลกฤษณ์ สุขเฉลิม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
               
        น้องเต้ย เด็กรุ่นใหม่ที่มีใจรักในไอที บอกว่า ศึกษาเทคโนโลยีวิทยุสื่อสารอยู่แล้ว จึงพัฒนาโครงงานนี้ ขึ้นมาจากความสนใจที่มีอยู่เดิม ประกอบกับเหตุการณ์หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ผ่านมา เช่นเครื่องบินตกที่จังหวัดน่าน พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือไม่สามารถหาผู้ประสบภัยเจอ กลายเป็นอุปสรรคของการเข้าช่วยเหลือ
               
        ด้วยเหตุผลดังกล่าว เต้ยจึงได้พัฒนาโครงงานนี้ขึ้นมาโดยหวังว่าจะอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือและกู้ภัย โดยอุปกรณ์จะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยในทันทีที่เกิดเหตุ พร้อมทั้งพิกัดที่เกิดเหตุ เพื่อให้หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัยได้อย่างมาก ซึ่งโครงการนี้มีอาจารย์กำธร ใช้พระคุณ เป็นคุณครูที่ปรึกษา
           
        น้องเต้ย บอกว่า ได้นำเทคโนโลยีการระบุพิกัดด้วยดาวเทียมหรือจีพีเอสมาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุ และ การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมาช่วยในการพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าว โดยการใช้การระบุพิกัดผ่านดาวเทียม และ  นำพิกัดดังกล่าวส่งไปกับคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียมไปยังสถานีฐาน หากเกิดเหตุขึ้น อุปกรณ์สามารถส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปพร้อมกับพิกัดจีพีเอส ไปยังสถานีฐานที่เป็นหน่วยกู้ภัยได้รับทราบถึงเหตุดังกล่าวและตำแหน่งที่ต้องเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
               
        ในการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือพร้อมพิกัดจีพีเอสได้พัฒนาอุปกรณ์ใน 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ จีพีเอส โมดุล โมเด็ม ระบบควบคุมการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ และเครื่องส่งวิทยุอุปกรณ์ แต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
           
        ทั้งนี้ได้ทดสอบการใช้งาน โดยจำลองค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่ 5 ตารางกิโลเมตร พบว่าสามารถที่จะทราบเหตุที่เกิดขึ้นโดยทันที และสามารถที่จะเข้าช่วยเหลือได้ในเวลาไม่นานหลังจากได้รับสัญญาณขอความช่วยเหลือดังกล่าว
           
        และจากการทดสอบพบ ว่าอุปกรณ์สามารถส่งสัญญาณได้ในระยะสูงสุดถึง 2,000 กิโล เมตร ห่างจากสถานีฐาน โดยใช้ดาวเทียมโฮป 1 (HOPE-1) คือสามารถรับพิกัดจากประเทศไทย (จังหวัดราชบุรี) จากหมู่เกาะตอนล่างของประเทศญี่ปุ่นได้ในระดับหนึ่ง
               
        เต้ยบอกอีกว่า ทุกวันนี้เด็กรุ่นใหม่อย่างเขา สนใจคอมพิวเตอร์มากขึ้น แต่เด็กบางส่วนยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่ถูก เอาเวลาส่วนใหญ่ไปใช้ในการเล่นเกม ดังนั้นควรที่จะมีการปรับนิสัยและพฤติกรรมให้ใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย.
         
        แหล่งที่มา :   เดลินิวส์ออนไลน์

        วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

        โครงการนำร่องการผลิตเสาวรสในระดับฟาร์ม
        โดยใช้พันธุ์สีม่วงปลอดโรคไวรัส


        สถานที่ตั้ง
        สถานีเกษตรหลวงปางดะ มูลนิธิโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่

        ความเป็นมา
        เสาวรสพันธุ์สีม่วงรับประทานสดเป็นไม้ผลส่งเสริมของมูลนิธิโครงการหลวงที่ได้รับความนิยมมาก และมีปริมาณความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากทุกปี เป็นพืชที่ให้ผลผลิตเร็ว สามารถทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ดี มีช่วงการเก็บเกี่ยวได้นานถึง 7 เดือนใน 1 ปี ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกประมาณ 500 ไร่ ผลผลิตที่มีคุณภาพดี เกษตรกรสามารถขายได้ในราคากิโลกรัมละ 17-30 บาท และที่สำคัญปัจจุบันจัดว่าเป็นผลไม้ที่มีความต้องการสูงกว่าผลผลิตที่สามารถผลิตได้ เนื่องจากปัญหาการเกิดโรคไวรัสระบาดในต้นแม่พันธุ์ดี และพบว่าต้นแม่พันธุ์ที่ขยายพันธุ์ในขณะนี้แสดงอาการของโรคไวรัส และเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของโรคทั่วไปในแปลงปลูกของเกษตรกร โรคไวรัสที่เกิดจากเชื้อไวรัส PWV (passion fruit woodiness virus)

        มูลนิธิโครงการหลวงจึงได้ร่วมกับนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำวิจัยโดยการนำส่วนปลายยอดเจริญของเสาวรสพันธุ์สีม่วง ซึ่งเป็นพันธุ์ดี เพื่อเลี้ยงให้ได้ยอดปลอดโรค โดยต้องตรวจสอบว่าปราศจากโรค ก่อนเพิ่มจำนวนยอด ยอดทั้งหมดที่เพิ่มจำนวนจึงปลอดโรคร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องนำยอดดังกล่าวออกจากขวด นำมาเสียบบนต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดของเสาวรสพันธุ์สีเหลืองที่ตรวจสอบแล้วว่าปลอดโรคไวรัสเป็นต้นตอ ทำให้สามารถขยายพันธุ์ต้นปลอดโรคได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งยอดที่เพาะโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถเสียบยอดกับพืชที่เพาะเมล็ดตามธรรมดาได้ผลดี และต้นที่ได้แข็งแรง และเจริญเติบโตได้เร็ว แทนวิธีการทั่วไปที่เพาะเลี้ยงให้เกิดรากแล้วนำออกจากขวดมาปลูกในแปลงปลูก ซึ่งต้นที่ได้อ่อนแอและแข็งแรงน้อยกว่า หรือตามที่มีรายงานคือใช้ปลายยอดเจริญเสียบบนต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดในขวด ซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก เพราะมีเปอร์เซ็นต์ปลอดโรคต่ำ

        เสาวรสที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธุ์คือ พันธุ์สีเหลืองมีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นหอม เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากเหมาะสำหรับนำไปผลิตเป็นน้ำผลไม้ และทนทานต่อการเกิดโรคได้ดี และพันธุ์สีม่วงมีรสเปรี้ยวอมหวาน เป็นพันธุ์ที่นิยมรับประทานสด โดยแหล่งผลิตเสาวรสที่สำคัญของโลกได้แก่ บราซิล เอกวาดอร์ โคลัมเบีย และเปรู ปริมาณผลผลิตทั่วโลกมีประมาณ 805,000 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์สีเหลือง แต่ปัจจุบันเสาวรสพันธุ์สีม่วงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในตลาดสหรัฐอเมริกามีความต้องการเสาวรสประมาณปีละ 3,000 ตัน ส่วนประเทศไทยสามารถผลิตเสาวรสพันธุ์สีม่วงเพื่อรับประทานสดได้ประมาณ 500 ตันต่อปี ราคาอยู่ที่ 28 – 58 ต่อกิโลกรัม โดยขึ้นอยู่กับขนาดและคุณภาพ

        สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) ได้ให้การสนับสนุนเงินอุดหนุนในโครงการ “ทุนเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม” ในวงเงินไม่เกิน 1,778,120 บาท ในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ให้กับมูลนิธิโครงการหลวง ในการนำร่องการผลิตเสาวรสในระดับฟาร์มโดยใช้พันธุ์สีม่วงปลอดโรคไวรัสเพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลต่อเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ

        วัตถุประสงค์

        • ทดสอบคุณภาพ และผลผลิตของแม่พันธุ์ต้นเสาวรสปลอดโรคไวรัส ในโรงเรือนทดลอง
        • ขยายพันธุ์เสาวรสปลอดโรคจากผลการทดสอบที่ได้จากโรงเรือนทดลอง
        • นำต้นพันธุ์เสาวรสที่ได้จากการขยายพันธุ์ ไปทอสอบการผลิตและการจัดการในพื้นที่การปลูกของเกษตรกรที่คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ

        ประโยชน์ที่ได้รับ
        • สถานีเกษตรหลวงปางดะ มูลนิธิโครงการหลวง ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในโครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรือนคัดพันธุ์และขยายพันธุ์พร้อมระบบน้ำ ในพื้นที่ของสถานีเกษตรหลวงปางดะเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยโรงเรือนแม่พันธุ์ได้ลงต้นพันธุ์ปลูกแบบเว้นระยะห่างจำนวน 18 ต้น และโรงเรือนคัดพันธุ์ได้ลงต้นจำนวน 76 ต้น
        • มูลนิธิโครงการหลวงได้ส่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ดำเนินการก่อสร้างโรงเรือนปลูกเสาวรสที่มีหลังคาและไม่มีหลังคาพร้อมระบบน้ำบนพื้นที่ของเกษตรกรจำนวน 3 ราย รวม 3 ฟาร์ม จาก 6 ฟาร์ม ซึ่งขยายผลต่ออีก 3 ฟาร์ม ภายในเดือนกรกฎาคม 2553 ปัจจุบันดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
        • จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ต้นเสาวรสที่ปลูกด้วยต้นพันธุ์ปลอดโรคไวรัสมีความแข็งแรงและสมบูรณ์กว่าต้นเสาวรสที่ปลูกด้วยต้นพันธุ์ปกติ (ติดไวรัสโรคพืช) โดยสังเกตได้จากลักษณะของใบไม่หงิกงอ ไม่มีจุดด่าง สีเขียวเข้ม และลำต้นมีความสมบูรณ์กว่า
        • ในรอบการผลิตแรกตั้งแต่เริ่มปลูกด้นเสาวรสที่ปลูกโดยใช้ต้นพันธุ์ปลอดโรค เมื่อติดดอกดอกจะร่วงไม่ให้ผลผลิต ซึ่งขณะนี้คณะนักวิชาการเกษตรกำลังหาสาเหตุและจะดำเนินการพัฒนาต่อไป ซึ่งเมื่อทิ้งไว้ซักระยะอาการบ้าใบก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ

        ระยะเวลาดำเนินโครงการ
        ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2551 ถึงวันที่ 29 กันยายน 2553

        ผลการดำเนินงาน

         

        โรงเรือนขยายพันธุ์และคัดพันธุ์เสารวสสีม่วง ณ สถานีเกษตรหลวงปางดะ
         

        โรงเรือนแบบมีหลังคา และไม่มีหลังคา บนพื้นที่เกษตรกรชาวไทยภูเขา

        วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

        สวัสดีปีใหม่ 2554

        สวัสดีปีใหม่ 2554 ขอให้โชคดีทุกท่าน
        คิดสิ่งใดขอให้สำเร็จตามต้องการ
        ทุกคืนวันเป็นสุขไม่ทุกข์เศร้า
        จะทำการใดขอให้สำเร็จทุกประการ